fbpx

โครงการคุ้มครองเด็ก

งานภาคสนาม (Outreach Work)

งานภาคสนามเป็นขั้นตอนการทำงานในด่านแรกที่ทีมเจ้าหน้าที่ภาคสนาม พร้อมกับรถโมบาย (Mobile Training Unit; MTU)ของมูลนิธิฯ จะเข้าไปพบปะกับเด็กๆในพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นท้องถนน แคมป์คนงานก่อสร้าง ชุมชนแออัด รวมไปถึงการเยี่ยมบ้านเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯจะได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษ เพื่อจะได้พูดคุยกับเด็กๆ เหล่านี้ถึงอันตรายของการใช้ชีวิตตามท้องถนน ด้วยการเน้นให้เห็นถึงภัยอันเกี่ยวเนื่องกับการค้ามนุษย์ อาชญากรรมที่เกี่ยวกับยาเสพติดและการทารุณกรรมทางเพศ ด้วยการสร้างสัมพันธภาพพบปะเจรจากับเด็กที่อาศัยอยู่ตามท้องถนน ทีมงานภาคสนามของเรายังได้รวบรวมข้อมูลผู้กระทำผิดและผู้เป็นโรคใคร่เด็ก (Pedophilia) ข้อมูลนี้จะนำไปแบ่งปันโดยตรงกับตำรวจท้องถิ่นและตำรวจนานาชาติเพื่อที่จะเอื้ออำนวยความสะดวกในการจับกุมผู้ต้องสงสัยต่อไป

สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก บ้านเอื้ออารี (Child Protection and Development Center)

สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก บ้านเอื้ออารี (Child Protection and Development Center)
สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก บ้านเอื้ออารี เป็นบ้านหลังใหม่ของเด็กๆที่ช่วยชดเชยและเยียวยาสิ่งที่เด็กๆต้องสูญเสียไปกับการที่เข้าไปอยู่ในวงจรของอาชญากรรม และการตกเป็นเหยื่อของแสวงหาผลประโยชน์เพราะความยากจน จนทำให้ชีวิตในวัยเด็กของพวกเขาไม่มีโอกาสสัมผัสการเล่น การหัวเราะ และความสุขจากความรักของบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะกับเด็กๆที่มีประสบการณ์ในการถูกทารุณกรรมอย่างอัปยศอดสู ประสบการณ์เหล่านั้นทำให้เด็กๆหวาดผวา หวาดกลัวและไม่สามารถยอมรับและให้ความไว้วางใจที่จะเข้ารับการดูแลอย่างเป็นระบบได้โดยง่าย ทีมงานเจ้าหน้าที่ นักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์ของเราจำเป็นต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดี ให้ความเป็นเพื่อนและสนับสนุนส่งเสริมเด็กๆ ระหว่างดำเนินการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของพวกเขา ที่สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก บ้านเอื้ออารี เด็กๆจะพบครอบครัวใหม่ที่ซึ่งพวกเขาจะรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ ได้รับความรักและความชื่นชม เด็กทุกคนจะได้มีโอกาสเข้าเรียนตามความสนใจและความถนัด รวมไปถึงเมื่อจบการศึกษาพวกเขาก็จะทำงานประกอบอาชีพ และพร้อมที่ใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข โดยปัจจุบันเรามีเด็กชาย และเด็กหญิงในความคุ้มครองของบ้านเอื้ออารี จำนวน 75 คน

ศูนย์พักพิงเด็ก/ศูนย์การเรียนรู้อาเซียน (Drop-In Center/Asean Education Center)

ศูนย์พักพิงเด็กเป็นสถานแรกรับ ที่จะช่วยให้เด็กเร่ร่อน หรือเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ให้ได้รับความคุ้มครอง ฟื้นฟู สภาพร่างกายและจิตใจให้กลับสู่สภาวการณ์ปรกติ โดยทางศูนย์มีบริการที่พักพิงที่ปลอดภัย การบริการจัดหาสิ่งของจำเป็นขั้นพื้นฐาน เช่น อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรค รวมไปถึงการบริการให้คำปรึกษา และวางแผนการให้ความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อร่วมพิจารณารูปแบบและวิธีการให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือเด็กในระยะสั่นและระยะยาว เช่น การดำเนินการเรื่องสถานะบุคคล การให้ทุนการศึกษา การติดต่อและสืบหาครอบครัว รวมไปถึงการส่งต่อเด็กเข้ารับการสงเคราะห์และคุ้มครองในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก บ้านเอื้ออารี ในกรณีที่เด็กจำเป็นต้องได้รับความคุ้มครอง
นอกจากนั้นศูนย์พักพิงเด็กยังดำเนินโครงการศูนย์การเรียนอาเซียน เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับบุตรหลานแรงงามข้ามชาติที่ติดตามบิดามารดาของตนเข้ามาขายแรงงานในเมืองพัทยา โดยเด็กๆจะได้เรียนรู้ทักษะชีวิต ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และภาษาถิ่นกำเนิดของตนเอง เอง เช่น ภาษากัมพูชา หรือ ภาษาเมียนมาร์ รวมไปถึงการสอนเรื่องคุณธรรม และจริยธรรมเพื่อให้เด็กๆทุกคนเป็นคนดี มีวินัย และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปรกติสุข ซึ่งปัจจุบันเรามีเด็กข้ามชาติที่เข้ามาเรียนในศูนย์การเรียนกว่า 80 -100 คน เปิดทำการเวลา 08.00 น. – 16.00 น.

การทำงานด้านการป้องกัน (Preventative work)

งานป้องกันคือหัวใจสำคัญของการทำงานเพื่อการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่มูลนิธิเอช เอช เอ็น เพื่อเด็กไทย ที่ให้ความสำคัญ เพราะเป็นกระบวนการทำงานต้นทางที่จะทำให้เด็กและเยาวชนไม่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์และการถูกแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ มูลนิธิฯ จึงได้มอบหมายให้ทีมงานภาคสนาม พร้อมกับรถโมบาย MTU ออกไปให้ความรู้เรื่องสิทธิเด็ก และการป้องกันทางเพศเด็กและเยาวชน ในพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชุมชน สถานสงเคราะห์ และโรงเรียน นอกจากนั้นเรายังจัดอบรมให้กับบรรดาผู้ปกครองเด็ก รวมไปถึงผู้นำชุมชน เพื่อพวกเขาได้มีส่วนร่วมในการเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังและปกป้องคุ้มครองเด็กในพื้นที่ ซึ่งในแต่ละปีทีมงาน MTU ได้ออกไปให้ความรู้กับเด็กๆในพื้นที่ต่างๆมากกว่า 1,500 คน ผ่านหลักสูตรและกิจกรรมที่มูลนิธิเอช เอช เอ็น เพื่อเด็กไทยได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น เช่น การจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องสิทธิเด็ก และเพศศึกษา การอบรมการใช้นวัตกรรมเกมการ์ดพลังป้องกันเด็ก (Child Protection Card Game) เป็นต้น

HGM Education Fund

Mr. Hans Günther Müller ผู้อุปถัมภ์โครงการสู่ความสำเร็จ โดย HGM Education Fund เป็นชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปี
ท่านได้บริจาคเงินส่วนตัวที่ท่านได้สะสมหลังจากที่ท่านได้จบการศึกษา และดำเนินธุรกิจนานกว่ากว่า 45 ปี จนประสบความสำเร็จ และมาใช้ชีวิตหลังเกษียนอายุในประเทศไทย
จากประสบการณ์ของท่าน ท่านทราบดีกว่าการศึกษาที่ดี จะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและประสบความสำเร็จในอนาคต นี้จึงเป็นเหตุผลที่ท่านบริจาคเงินสนับสนุนทุนการศึกษา เพื่อให้เด็กๆที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจนในประเทศไทยได้มีโอกาสประสบความสำเร็จในความมุ่งมั่นตั้งใจของตนเอง

Hero Association​

Hero Association was registered by group of Pattaya Orphanage Alumni on May 17, 2017 at Banglamung District. Objectives are to enable members to operate beneficial public activities for individual person, family, group and community and also to provide social welfare services to former orphans who suffer life difficulty in form of psychological counseling and social welfare in order to enhance energy to that person to live and to take care of family normally.